มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2559 ช่วยอะไรคนโสดได้บ้าง? – บริษัทจัดหาคู่
จะได้คืนภาษี 15,000 บาท จริงหรอ? ไขข้อข้องใจคุณอยู่ตรงไหนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลาย
ปี 2559 จากรัฐบาล ตอบคำถามไขข้อข้องใจจากกรมสรรพากร
ข้อมูลด้วย กรมสรรพากร กราบขอบพระคุณค่ะ
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2559
1. หลักการ
(1) กำหนดให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้า หรือ ค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 มาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(2) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการและชำระราคาค่าสินค้าหรือค่าบริการ ในช่วงเวลา ดังกล่าว และต้องมีหลักฐานการซื้อสินค้าหรือรับบริการเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
(3) การซื้อสินค้าหรือรับบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นการซื้อสินค้าเพื่อใช้ในประเทศหรือบริการเพื่อใช้ในประเทศเท่านั้น และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7 แต่สินค้านั้น ไม่รวมถึงการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ น้ำมัน ก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ และ การบริการนั้นไม่รวมถึงการจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและ มัคคุเทศก์สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ และการจ่ายค่าที่พัก ในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
2. ตารางแสดงรายการสินค้าและบริการที่สามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษีตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2559 (วันที่ 14 ธ.ค. 59 – วันที่ 31 ธ.ค. 59)
ข้อมูลจาก http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/tortor_131259.pdf
3. คำถามที่ถูกถามบ่อย Q&A
Q 1 : มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2559 เป็นการให้สิทธิประโยชน์อะไร ?
A : ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา สามารถนำเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 มาหักเป็น ค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2559 ได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
Q 2 : การให้หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ในระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 มีหลักเกณฑ์เงื่อนไข อย่างไร ?
A : การหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ มีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ดังนี้
1.) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการ และชำระราคาค่าสินค้าหรือค่าบริการระหว่างวันที่ 14 – 31 ธันวาคม 2559
2.) ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตาม มาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร (มีชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบกำกับภาษี)
3.) เป็นการซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อใช้ในประเทศเท่านั้น และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7
4.) สินค้าและบริการนั้น ไม่รวมถึง (1) การซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ (2) การจ่ายค่าบริการนำเที่ยวให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และการจ่ายค่าที่พักในโรงแรม
Q 3 : ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการใดบ้าง ที่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ตามมาตรการนี้ ?
A : 1. สินค้าทุกประเภท ยกเว้น การซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ รถยนต์รถจักรยานยนต์ เรือ น้ำมัน และ ก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
2. บริการทุกประเภท ยกเว้น ค่าบริการนำเที่ยวและค่าที่พักโรงแรม ทั้งนี้สินค้าและบริการนั้นต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 และต้องชำระค่าสินค้าและใช้บริการ ระหว่างวันที่ 14 - 31 ธันวาคม 2559
Q 4 : กรณีชำระค่าบริการระหว่างวันที่ 14 - 31 ธันวาคม 2559 แต่ได้ใช้บริการหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2559 จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่ ?
A : ไม่สามารถใช้ได้เนื่องจากต้องช าระค่าบริการและใช้บริการในช่วงวันที่ 14 - 31 ธันวาคม 2559 เท่านั้น
Q 5 : กรณีจ่ายค่าที่พักโรงแรม หรือจ่ายค่าบริการนำเที่ยว ระหว่างวันที่ 14 - 31 ธันวาคม 2559 สามารถ ใช้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการนี้ ได้หรือไม่ ?
A : ไม่สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการนี้ได้เนื่องจากการจ่ายค่าบริการนั้น ไม่รวมถึงการจ่ายค่าที่พัก โรงแรมและค่าบริการนำเที่ยว อย่างไรก็ดี ผู้เสียภาษีสามารถนำค่าที่พักโรงแรมและค่าบริการนำเที่ยว ไปหัก ลดหย่อนได้ตามมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว (กฎกระทรวงฉบับที่ 316 และ 322)
Q 6 : ต้องใช้หลักฐานใด ในการใช้สิทธิหักลดหย่อน ?
A : หลักฐานที่ใช้ คือ ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร (ใบกำกับภาษีที่มี ข้อความระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ)
Q 7 : ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐาน ในการหักลดหย่อน หมายถึงอะไร ?
A : ใบกำกับภาษีที่มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี ฃ(3) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ (4) หมายเลขล าดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
(5) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
(6) จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ค านวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของ สินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
(7) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
(8) ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด เช่น คำว่าเอกสารออกเป็นชุด สำเนาใบกำกับภาษี ฯลฯ
Q 8 : ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่สมบูรณ์ เช่น เขียนชื่อ หรือที่อยู่ผู้ซื้อสินค้าผิด หรือมีการแก้ไข สามารถ นำมาใช้หักลดหย่อนได้หรือไม่ ?
A : หากใบกำกับภาษีนั้นมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร แม้จะมีการเขียนชื่อ หรือที่อยู่ ผู้ซื้อสินค้าผิด หรือมีการแก้ไขข้อความ ก็สามารถใช้หักลดหย่อนได้
Q 9 : กรณีซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการหลายครั้ง (มีใบกำกับภาษีหลายใบ) ระหว่างวันที่ 14 - 31 ธันวาคม 2559 จะสามารถนำมูลค่าการซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการแต่ละครั้งมารวมกันเพื่อใช้สิทธิได้หรือไม่ ?
A : การซื้อสินค้าหรือค่าบริการในแต่ละครั้งหากมีมูลค่าไม่ถึง 15,000 บาท สามารถนำการซื้อหลายครั้งมา รวมกันได้ แต่ใช้สิทธิได้ไม่เกิน 15,000 บาท
Q 10 : กรณีใบกำกับภาษีมีทั้งรายการสินค้าและบริการ ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จะหัก ลดหย่อนอย่างไร ?
A : สามารถนำมาหักลดหย่อนได้เฉพาะค่าสินค้าและค่าบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
และถ้าคุณสงสัยว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2559 นี้ "ช่วยอะไรคนโสดได้บ้าง"
คุณสามารถ สมัครใช้บริการจัดหาคู่กับ MeetNLunch ได้ก่อนสิ้นปี 2016 นี้
สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ พร้อมรับส่วนลด 5,000 บาท อีกด้วย
ใกล้สิ้นปีแล้ว เวลากำลังจะเลยผ่านเราไปอีกปี ถ้าคุณยังโสดและกำลังมองหาตัวช่วยให้คุณได้พบคนที่ถูกใจ
ให้ MeetNLunch เป็นผู้ช่วยคุณค่ะ แล้วปีหน้า 2017 ที่กำลังจะมาถึง คุณจะไม่โสด ไม่เหงาอีกต่อไป สมัครเลยค่ะ :)
สนใจบริการจัดหาคู่ ติดต่อสอบถามได้ที่ ไลน์บริษัทจัดหาคู่ MeetNLunch Line id: @meetnlunch (ใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)